วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551

การออกกำลังกาย










ความหมายของการออกกำลังกาย การออกกำลังกาย (Exercise) มีความหมายกว้างมาก คือ ครอบคลุมไปถึงกิจกรรมทางร่างกายในทุกลักณะ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬาหรือทำงานใดๆ ไม่ว่จะเป็นกิจกรรมที่สมัครใจหรือไม่เต็มใจ และไม่ว่ากิจกรรมนั้นๆจะเป็นอาชีพ หรือสมัครเล่นการที่ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวโดยจะออกแรงเพียงเล็กน้อยหรือมากเพียงไดเพื่อให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว หรือบางครั้งอาจจะอยู่กับที่ก็ตาม ซึ่งเป็นผลทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ก็จัดได้ว่าเป็นการออกกำลังกายทั้งสิ้น (สุชาติ โสมประยูร,2528 : 121)
หลักการออกกำลังกายมีด้วยกัน 2 แบบคือ
1. การออกกำลังกายโดยที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหว(Dynamic)
2. การออกกำลังกายโดยที่ร่างกายอยู่กับที่(Static)
ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับทุกคน ควรปฏิบัติให้เป็นกิจวัตรประจำวันการออกกำลังกายที่ถูกต้อง จะทำให้เกิดประโยชน์มากมายดังนี้
1. ทำให้กล้ามเนื้อต่างๆแข็งแรง ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ดี และทำให้มีสมรรถภาพทางกายมากขึ้น
2. ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
3. ทำให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายในรูปของเหงื่อ
4. ทำให้มีการเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้ดีขึ้น
5. ทำให้เกิดความสบายทั้งร่างกายและจิตใจ
6. ในเด็กเล็กทำให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่มีการเคลื่อนไหวและมีการพัฒนาที่ดี
7. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โทษของการขาดการออกกำลังกายการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ดีแต่ว่า การออกกำลังกายที่มากเกินไปก็อาจด่อให้เกิดโทษได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การที่ได้ออกกำลังกายก็ยังดีกว่าขาดการออกกำลังกายซึ่งในสภาพสังคมปัจจุบันนี้ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ มิได้เล็งเห็นถึงจุดนี้ อีกทั้งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังทำให้ใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงานคนซึ่งจากที่กล่าวข้างต้น
โทษของการขาดการออกกำลังกายมีดังนี้วัยเด็ก
1. การเจริญเติบโต กระดูกจะเล็ก เปราะบาง ขยายตัวได้ไม่เต็มที่ช้า และแคระแกรน
2. รูปร่างทรวดทรง มีรูปร่างผอมบาง หรือไม่ก็อ้วนมีไขมันใต้ผิวหนังเป็นจำนวนมาก กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง มีการพัฒนาที่ไม่ถูกต้องตามหลักสรีระวิทยา
3. สุขภาพทั่วไปมีความต้านทานโรคต่ำเจ็บป่วยง่าย
4. สมรรถภาพทางกายมีระดับต่ำเมื่อเทียบกับเด็กที่ออกกำลังกายปกติ
5. สังคมและจิตใจ เป็นเด็กที่เก็บตัว มีเพื่อนน้อย จิตใจหดหู่ ไม่ร่าเริงแจ่มใส บางรายอาจหันไปทางอบายมุข หรือ ยาเสพติดได้
วัยรุ่นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่ขาดการอกกำลังกายมาตั้งแต่วัยเด็กมีรูปร่าง ทรวดทรง และสมรรถภาพทางกายเสียไป และจะเพิ่มมากขึ้นในวัยหนุ่มสาว ขณะเดียวกันก็จะเกิดการ เสื่อมในด้านรูปร่าง และหน้าที่การงานของอวัยวะภายในหลายระบบ จนในที่สุดจะแสดงอาการคล้ายเป็นโรคพยาธิ คือ เหนื่อยง่าย ใจสั่น
2. กลุ่มที่ออกกำลังกายเป็นประจำแต่มาหยุดในวัยหนุ่มสาวรูปร่างจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเนื่องจากกล้ามเนื้อน้อยลง และมีการสะสมของไขมันมากขึ้น อันเนื่องมาจากการรับประทานอาหารเท่าเดิม แต่มีการออกกำลังกายน้อยลงทำให้สมรรถภาพทางกายต่างๆลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ยังได้เปรียบกลุ่มที่ 1 เพราะหากกลับมาออกกำลังกายสมรรถภาพทางกาย จะกลับมาในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็ควรปฏิบัติอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป
หลักปฏิบัติในการออกกำลังกาย
หลักการเบื้องต้นของการออกกำลังกายประกอบด้วย 2 ประการ ได้แก่
1. หลักการเพิ่มงาน คือ การทำกิจกรรมใดๆ ให้มีความมากขึ้น หรือยากขึ้นจากเดิม เช่น จากเดิมที่ให้ดันพื้น 15 ครั้ง ใน 30 วินาที ให้เพิ่มเป็น 20 ครั้งใน 30 วินาที หรือก้มตัวแตะปลายเท้าก็ให้แตะในระยะไกลกว่าเดิม เป็นต้น
2. หลักความก้าวหน้า คือ การที่เพิ่มงานขึ้นทีละน้อย โดยเพิ่มความหนักของงาน ระยะเวลาและความถี่ในการออกกำลังกาย เช่น จากเดิมออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันอาจเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ละ 4 วันเป็นต้น
3. หลักความเฉพาะ คือ ความต้องการให้ได้ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่คาดว่าจะได้รับจากการออกกำลังกายนั้นๆ ซึ่งให้เข้าใจง่ายคือ มีวัตถุประสงค์นั่นเอง อาทิเช่น ความแข็งแรง ความเร็ว ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่วว่องไว เป็นต้น








ไม่มีความคิดเห็น: